เมนู

ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความ
ชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อ ๆ กันมาทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ
หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์
อรหัตตผลเว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อ ๆ
กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความ
เห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ ปริยายสูตรที่ 8

อรรถกถาปริยายสูตรที่ 8


ในปริยายสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยํ ปริยายํ อาคมฺม ความว่า อาศัยเหตุใด. บทว่า อญฺญเตฺรว
สทฺธาย
ความว่า เว้นศรัทธา คือ ปราศจากศรัทธา. ก็ในที่นี้ บทว่า
สทฺธา ไม่ได้หมายเอาศรัทธา ที่ประจักษ์ ( เห็นด้วยตนเอง ) แต่คำว่า
ศรัทธานี้ ท่านกล่าวหมายถึงอาการเชื่อที่ฟังคนอื่นพูดว่าเขาว่าอย่างนั้นแล้ว

ก็มิได้เลื่อมใสอาการ คือ การให้ชอบใจแม้ในสิ่งที่ชอบใจเป็นต้น เห็นด้วย
แล้วยึดถือว่า นี่มีจริงเป็นจริง ชื่อว่า รุจิ ชอบใจ ฟังตามคำบอกเล่าว่า
เรื่องนี้จักมีจักเป็นจริง ชื่อว่า ฟังตามกันมา. เมื่อนั่งคิดถึงเหตุ เหตุย่อม
ปรากฏ เมื่อเหตุปรากฏอย่างนี้ การเชื่อถือว่า เรื่องนี้มีจริง ชื่อว่า ตรึก
ตามอาการ. อธิบายว่า ตรึกตามเหตุ. เมื่อนั่งคิด ลัทธิอันลามก ย่อมเกิดขึ้น
อาการคือการถือเอาลัทธิลามกนั้นว่า สิ่งนี้ก็คือสิ่งนั้นมีอยู่ ชื่อว่า เชื่อด้วย
ชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน. บทว่า อญฺญํ พฺยากเรยฺย ความว่า หลุด-
พ้นฐานะ 5 เหล่านี้แล้ว พึงพยากรณ์พระอรหัต. ในสูตรนี้ตรัสถึง
ปัจเจกขณญาณ สำหรับพระเสขะและอเสขะ.
จบ อรรถกถาปริยายสูตรที่ 8

9. อินทริยสูตร


ว่าด้วยเรื่องอินทรีย์


[243] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ ถ้าว่าภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจัก-
ขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ